วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


บทที่2

ลักษณะของข้อมูลที่ดีข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญๆ ดังนี้คือ                          
1.                                      ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด
2.                                      ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม
3.                                      ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้
4.                                      ความกระทัดรัด (conciseness) ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที
5.                                     ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
6.                                      ความต่อเนื่อง (continuity) การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต

     ฐานข้อมูล  แบ่งออกเป็น  5  ประเภท คือ 
     กลาง  อุปกรณ์นำเข้าและออกรายงาน  รวมถึงหน่วยความจำสำรองที่รองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้าง  การควบคุม  หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า  ระบบจัดการฐานข้อมูล  (  Database  Management  System  )  คือโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้   และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้  ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล  จะมองภาพข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน  เช่น  ผู้ใช้บางคนมองภาพของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูลจริง  (  Physical  Level )  ในขณะที่ผู้ใช้บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งานของผู้ใช้  ( External  Level  )ข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบิน  ผู้ใช้ทั่วไป  คือ  พนักงานจองตั๋วการบริหารงานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมด  เป็นผู้ที่จะต้องตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ  จัดเก็บโดยวิธีใด  เทคนิคการเรียกใช้ข้อมูล  กำหนดระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  การสร้างระบบข้อมูลสำรอง  การกู้  และประสานงานกับผู้ใช้ว่าต้องการใช้ข้อมูลอย่างไร  รวมถึงนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  และโปรแกรมเมอร์  ประยุกต์ใช้งาน  เพื่อให้การบริหารการใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
·                       ไว้หลาย ๆ แห่ง  ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน  (Reclundancy  )  การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนได้ สามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้  กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน ผู้ใช้แต่ละคนให้แตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ง่าย ถ้าหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลก็ทำการแก้ไขโปรแกรมนั้น ๆ
·                     ข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน
·                     DSS เป็นระบบที่ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการตัดสินใจ โดยการนำการประมวลผลในระบบMISมาประกอบกาานำ สารสนเทศจากภายนอกมาประกอบในการสร้างเครื่องมือES เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทำหน้าที่ทำการวิเคราะห์งานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ในระดับ ที่เชี่ยวชาญเฉพาะจะต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์เฉพาะเรื่องนั้นๆ มาทำการสร้างฐานข้อมูลก่อน ระบบนี้จึงจำเป็น ต้องอาศับบุคลากรที่มความรู้เฉพ ะ ด้านในการทำงาน เช่นงานด้านการวินิจฉัย ทางการแพทย์ การพยากรณ์อากาศ การส่งดาวเทียม งานซ่อม เป็นต้น  
2.องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  และตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

·                     ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลโดยมีซอฟแวร์หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ได้ข้อมูลตามผู้ใช้ต้องการ  องค์ประกอบของระบบ
·                     1. ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )
·                     2. โปรแกรม  (  Program  )
·                     3. ข้อมูล  (  Data  )
·                     4. บุคลากร  (  People  )
·                     5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (  Procedures  )
·                     ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )  ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารระบบงานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ไม่ว่าจะเป็นขนาดของหน่วยความจำ  ความเร็วของหน่วยประมวลผล
·                     โปรแกรม  (  Program  )ในการประมวลผลฐานข้อมูลอาจจะใช้โปรแกรมที่แตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ว่าเป็นแบบใด โปรแกรมที่ทำหน้าที่การสร้าง  การเรียกใช้ข้อมูล  การจัดทำรายงาน  การปรับเปลี่ยนแก้ไขโครง
·                     ข้อมูล  (  Data  )ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้
·                     บุคลากร  (  People  )ผู้ใช้ทั่วไป เป็นบุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล  เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้  เช่น  ในระบบ
·                     พนักงานปฏิบัติงาน (  Operating  ) เป็นผู้ปฏิบัติการด้านการประมวลผล  การป้อนข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์
·                     นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (  System  Analyst  ) เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล  และออกแบบระบบงานที่จะนำมาใช้
·                     ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน  (  Programmer  ) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บการเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้
·                     ผู้บริหารงานฐานข้อมูล  (  Database  Administrator  : DBA  )  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารและควบคุม
3.ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล
1. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล  โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล     ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้  (  Inconsistency  )
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน  เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล
3. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล  อาจทำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันถูกเก็บ
4. รักษาความถูกต้อง  ฐานข้อมูลบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดขึ้น  เช่น  การป้อนข้อมูลผิด ซึ่งระบบการจัดการฐานข้อมูล
5. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้  เพราะในระบบฐานข้อมูลจะมีกลุ่มบุคคลที่คอยบริหารฐานข้อมูล
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้  ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดการเรียกใช้ข้อมูลของ
7. ความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม  โปรแกรมที่ใช้ในแต่ละแฟ้มข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูโดยตรง
 4.ความหมายของระบบสารสนเทศ MIS   DSS  ES DP EIS
MIS เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DPของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยน
DP เป็นระบบการประมวลผลข้อมูลประจำวันในลักษณะของการจัดการ เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รายงานของงาน ประจำวัน เช่น รายงานยอดการเช่าของวีดีโอของทุกวัน ก่อนทำการปิดบัญชีประจำวัน
EIS เป็นระบบที่มีหลักการทำงานเหมือนกับระบบ DSSที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุน ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารแต่ในระบบนี้ จะมีความแตกต่างกันในส่วนของขนาด ของหน่วยงาน ซึ่งขนาดหน่วยงาน ที่ใหญต้องการข้อมูลที่รวดเร็วกว่า และทำการ เรียกข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ที่ต้องการซึ่งมีการเชื่อมโยงของระบบ เครือข่าย ใยแมงมุมทั่วโลก (Internet System )5.ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ
MIS กับ DP
ระบบ MIS ประกอบด้วยฐานข้อมูลที่เป็น Integrated Database กล่าวคือ มีการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ (ข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กร มาจากระบบ DP ต่าง ๆ ภายใต้งานหลักเฉพาะหน่วยงานขององค์กร) ภายในองค์กรร่วมกัน ดังนั้นผู้บริหารทุกระดับสามารถใช้ Integrated Database เพื่อเรียกใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้สะดวกกว่าระบบ DP ซึ่งจะรายงานเฉพาะหน่วยงาน ไม่สามารถเปรียบเทียบหรือโยงไปยังข้อมูล / สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันได้
DSS กับ MIS
ระบบDSS  จะได้รับการออกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจงานหลายๆด้านพร้อมกัน ดั้งนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจำระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องชดเจน เรียกได้ทันที แตกต่างจากระบบMIS ที่แม้จะสามรถแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างงานได้แต่สารสนเทศต่างๆก็ถูกจัดเก็บไว้สำหรับแต่ละงานต่างๆ
EIS กับ EIS
ระบบEISเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้หลักการและวิธีเดียวกัยกับระบบEISแต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจอย่างซับซ้อนต้องการแม่นยำและความรวดเร็วในการตัดสินใจจากสถาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์การ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


                                              ความรู้เล็กๆน้อยๆบทที่  1

1. ข้อมูล (Data) แตกต่างจากสารสนเทศ ( Information) อย่างไร จงอธิบาย
                
              ข้อมูล(Data)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) 
                สารสนเทศ (information)  เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย

2. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้  

  LAN, MAN, WAN, Cyberspace, Mainframe,      Microcomputer 

    LAN ย่อมาจากคำว่า (Local Area Network)
           -ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อกันในระยะไม่ไกลมากนักโดยปกติมักเชื่อมต่อกันในระยะไม่เกิน กิโลเมตรคือเป็นระบบเน็ตเวิร์กที่อยู่ภายใต้อาคารเดียวกันหรือต่างอาคารในระยะใกล้ๆ

MAN ย่อมาจากคำว่า (Metropolitan Area Wetwork)
            -ระบบเครือข่ายขนาดกลาง เป็ระบบเน็ตเวิร์กที่ต้องอาศัยโครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นการติดต่อกันในระดับเขต แต่เป็นระบบเน็ตเวิร์กในระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตร

WAN ย่อมาจากคำว่า (Wide Area Network)
            -ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ หรือติดตสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยทั่วไปเรียกว่า world wide web สามารถส่งได้ทั้ง ข้อมูล ภาพและเสียง โดยจะต้องใช้ media ในการติดต่อสื่อสารโดยจะต้องใช้ คู่สายโทรศัพท์ dial - up line คู่สายเช่า leased line / ISDNขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศ ไทยจึงจะสามารถใช้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ

Cyberspace
              
  คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครือข่ายที่เเยกกันแต่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้แม้จะใช้กฏเกณฑ์หรือมาตรฐานที่แตกต่างกันดังนั้น Internet เป็นเพียงเครือข่ายหนึ่งของ Cyberspace เท่านั้น

Mainframe
                หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถนะสูงยิ่ง มีหน่วยความจำขนาดมหึมา มีสถานีปลายทางหลายสถานี มีอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า และแสดงผลได้หลากหลายรูปแบบ คอม พิวเตอร์ขนาดใหญ่นี้ ต้องอยู่ในห้องที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี (เพราะต้องการความเย็นมาก) ห้องต้องมีขนาดกว้างขวาง นอกจากนั้นยังใช้กำลังไฟสูง และมีราคาแพงมาก บางทีเรียก mainframe computer 

Microcomputer
            
 microcomputer (ไมโครคอมพิวเตอร์) nเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูก แต่ก็มีลักษณะของคอมพิวเตอร์อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือประกอบด้วยส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ (hard ware)และซอฟต์แวร์ (software)ส่วนหน่วยประมวลผลกลางจะประกอบด้วย วงจรเบ็ดเสร็จ, RAM, ROM

3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology) เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านใดบ้าง
           
                     1.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
            2.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
            3.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
            4.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
            5.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
            6.เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

4. จงยกตัวอย่างของระบบการสื่อสารในชีวิตประจำวันพร้อมทั้งอธิบายองค์ประกอบของระบบที่ยกตัวอย่างมาพอสังเขป
                
อินเทอร์เน็ต (Internet)เครือข่ายอินเทอร์เน็ต คำว่า Internet เป็นคำผสมระหว่าง Interconnection กับ Network เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายเพื่อสามารถมองเห็นกันได้ทุกเครือข่าย เป็นระบบเครือข่ายสากล ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันมากที่สุดในโลก โดยที่เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในปี ค.ศ.1969 เริ่มจากการ เชื่อมโยงข้อมูลใน 4 มหาวิทยาลัย ด้วยการใช้โปรโตคอล (Protocol เปรียบเหมือนกับภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลที่ใช้รับและส่งไปในเครือข่าย) แบบ TCP/IP ลักษณะสำคัญคือ กำหนดให้เครื่องทุกเครื่อง ที่อยู่ในระบบมีหมายเลขประจำตัวที่เรียกว่า IP address การส่งข้อมูลระหว่างกัน ก็จะใช้หมายเลขนี้เหมือนกับระบบไปรษณีย์ ซึ่งข้อกำหนดนี้เป็นที่เปิดเผย เข้าใจง่าย และใช้ได้ผลดี ทำให้ระบบนี้ขยายไปทั่วโลก

ตัวอย่างเช่น
- การเรียกค้นหาข้อมูลข่าวสาร (Search) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ มีลักษณะเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ เรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมครอบคลุมทั่วโลก (World Wide Web : www) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

5. จงอธิบายว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อตัวคุณและการดำเนินชีวิตของคุณในด้านใดและอย่างไร
                ผลกระทบในทางบวก

1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป
2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่" ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสาร" เข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย
3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย

              ผลกระทบในทางลบ

ผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นในทางลบมีหลายประการ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต  การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน  การพนันบนเครือข่าย การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
2. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้
4. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

6. คุณคิดว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
               
  การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
    


 1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) 
         หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว


2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 
         หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป



3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) 
         หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น




    4. หน่วยความจำ (Memory Unit) 
         หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น




     5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
         หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น


ประวัติส่วนตัว


สวัดดาคิบ



                   กระผมชื่อเด็กชายปัญญา หมั่นการ ชื่อเล่นๆ ติ๊กนะค้าบ แต่เพื่อนๆเรียกผมว่า มาริโอ้ 
แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น มันเรียกผมว่าเตี้ย ผมเลยเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจ แต่ไม่เป็นครับ แต่เพื่อนๆทุกคนก้รักกันดี จริงใจกันทุกคนครับ ผมรักทุกคนค้าบบบบบบบบบบบ จุ๊บๆๆ

ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 2/5 สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม นะ!!!